สิ่งหนึ่งที่ช่วยสร้างภาพลักษณ์ให้แก่บริษัทและองค์กรต่างๆ คือ ชุดยูนิฟอร์มพนักงาน เนื่องจากทำให้ลูกค้าและคนทั่วไปสามารถจดจำบริษัทและห้างร้านต่าง ๆ ได้จากรูปทรง สไตล์ และสีของชุดยูนิฟอร์ม การมีชุดฟอร์มพนักงาน สร้างผลดีแก่ตัวพนักงานและบริษัท เพราะช่วยให้ความเสมอภาค ความเท่าเทียมกัน พนักงานไม่ต้องสิ้นเปลืองเงินทองไปกับชุดที่ต้องใส่มาทำงาน ประหยัดเวลาในการเลือกชุด สร้างความภาคภูมิใจให้แก่พนักงาน และทำให้พนักงานรู้สึกเป็นทีมเดียวกัน เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
หนึ่งในอาชีพที่มักมีชุดยูนิฟอร์ม และชุดค่อนข้างมีเอกลักษณ์และแตกต่างจากอาชีพอื่น คือ เชฟ เชฟเป็นอาชีพที่เกี่ยวข้องกับอาหาร ซึ่งทุกคนมีความจำเป็นต้องบริโภคทุกวัน ย่อมต้องคำนึงถึงความสะอาด ถูกหลักอนามัย หากลูกค้าเห็นเชฟใส่ชุดเชฟ ย่อมรู้สึกดี และรู้สึกวางใจในคุณภาพและบริการมากกว่าการที่เชฟใส่ชุดธรรมดา
ชุดเชฟเป็นชุดที่มีประวัติมาอย่างยาวนาน แรกเริ่มในยุคกลางชุดเชฟเป็นสีเทา เพราะได้รับอิทธิพลจากชุดสีดำของนักบวช จนกระทั่งศตวรรษที่ 19 เชฟชาวฝรั่งเศส Marie-Antoine Carêême ที่มีฉายาว่า ราชาแห่งเชฟ ได้ริเริ่มการครัวสมัยใหม่ ปรับปรุงชุดของเชฟให้ได้มาตรฐาน ส่วนในปัจจุบันองค์กร โรงแรม ร้านอาหารเป็นผู้เลือกชุดยูนิฟอร์มสำหรับเชฟ โดยอาจมีการปรับเปลี่ยนเล็กๆน้อยๆ เพื่อให้เข้ากับลักษณะการทำครัว ธีมและสไตล์ของสถานที่ประกอบการ ในมุมมองของลูกค้า ผู้ใช้บริการ หรือคนที่พบเห็นเชฟในชุดเชฟ ต่างรู้สึกถึงความสุภาพ ลูกค้าเห็นแล้วเกิดความสบายตา มีความสะอาด สำหรับเชฟถือเป็นความภาคภูมิใจและแสดงถึงความเป็นมืออาชีพ สำหรับหัวหน้าทำให้พนักงานทำงานได้ง่ายขึ้น โดยแยกจากชุดว่าใครตำแหน่งอะไร เพียงเห็นชุดก็สามารถมอบหมายงาน หรือสั่งงานได้ทันที ส่วนผู้ประกอบการถือว่าได้ยกระดับภาพลักษณ์ของบริษัท แสดงถึงความเป็นระเบียบเรียบร้อยและความพร้อมในการทำงานของพนักงาน
เนื้อผ้าที่ใช้สำหรับชุดยูนิฟอร์มของเชฟ
ควรระบายอากาศได้ดี เพราะการทำครัวย่อมเผชิญกับอุณหภูมิสูง ทำให้มีเหงื่อ ในขณะเดียวกันต้องมีความหนาพอสมควรเพื่อให้สามารถป้องกันความร้อนและไฟได้ เช่น การถูกไอร้อนนานๆ การโดนน้ำเดือด หรือน้ำมันกระเด็นใส่ ดังนั้นชุดเชฟต้องมีความทนทานและคล่องตัว
ชุดยูนิฟอร์มพนักงานสำหรับใช้ในครัวมีหลายแบบ แบบที่คุ้นตาที่สุดจะเป็นเสื้อเชฟ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีกระดุมสองแถวด้านหน้า เพื่อความมิดชิด โดยกระดุมติดสลับไว้ด้านในได้ เพื่อให้สามารถใส่กลับในออกนอกได้ ในกรณีที่ด้านหนึ่งเกิดรอยเปื้อน กระดุมปลดออกง่าย เพื่อที่หากเสื้อติดไฟเชฟสามารถปลดกระดุมและถอดเสื้อออกได้ทันที
ชุดเชฟมีทั้งแบบแขนสั้นและแขนยาว โดยชุดเชฟแขนยาวจะเพิ่มการปกป้องมากขึ้นสำหรับเชฟที่ทำอาหารหน้าเตา ตรงแขนมีช่องสำหรับใส่ปากกาหรือช้อนชิม ช่วยให้เชฟทำงานได้สะดวกมากขึ้น การเลือกยูนิฟอร์มสำหรับเชฟตามขนาดตัว ส่งผลให้เชฟสามารถทำงานได้อย่างคล่องแคล่วและดูดีแก่ผู้พบเห็น
บริษัทสามารถเลือกสี รายละเอียด และเนื้อผ้า สำหรับตัดชุดยูนิฟอร์มพนักงานเพื่อบ่งบอกเอกลักษณ์ ธีม สไตล์ของร้านอาหารหรือโรงแรมได้ สีของชุดเชฟที่ใช้กันทั่วไปคือสีขาว ด้วยข้อดีหลายข้อ เช่น เป็นสีที่ดูดความร้อนได้น้อยที่สุด เห็นรอยเปื้อนง่าย ทำความสะอาดได้ง่าย และใช้น้ำยาฟอกขาวได้ อีกสีที่ได้รับความนิยม คือ สีดำ ซึ่งเหมาะกับการปรุงอาหารที่มีเขม่าควันเยอะ เพื่อความเรียบหรู เท่ หรือสีแดงเพื่อความโดดเด่น
ความสำคัญและประโยชน์ของชุดยูนิฟอร์ม ชุดเชฟ อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://uniformdeluxe.com/