ผู้เขียน หัวข้อ: ซ่อมบำรุงอาคาร: เช็คน้ำยาแอร์บ้าน ด้วยตัวเองก่อนเรียกช่างมาดู  (อ่าน 31 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 512
    • ดูรายละเอียด
ซ่อมบำรุงอาคาร: เช็คน้ำยาแอร์บ้าน ด้วยตัวเองก่อนเรียกช่างมาดู

โดยหลักความเป็นจริงนั้น น้ำยาแอร์เป็นระบบปิด ไม่รั่ว ไม่ซึม เราแทบจะไม่ต้องเติมตลอดการใช้งานเลย ส่วนมากที่น้ำยาแอร์จะลดลงหรือยุบตัวลงไปเกิดจากตัวคอยล์เย็นสกปรก ตัวคอยล์ร้อนสกปรก และน้ำยาแอร์เกิดการขยายตัวไม่เต็มที่ เวลาช่างจะวัดสังเกตดีๆว่าเค้าจะเอาเกจมาวัดก่อนล้างแอร์ให้เรา แต่เนื่องจากก่อนการล้างแอร์นั้น ตัวคอยล์ร้อนจะเลอะเทอะมีฝุ่นเกาะเต็ม ส่วนตัวคอยล์เย็นก็มีฝุ่นจับมาก ลมไม่ออกเลย ลมมันตัน พอคอยล์เย็นตันปุ๊บ เมื่อน้ำยาแอร์มันรันมาที่คอยล์เย็นระเหยออกไม่ได้เต็มที่ เวลาน้ำยาแอร์ดีดกลับมาที่คอยล์ร้อนน้ำยาแอร์ก็มาไม่เต็มที่เหมือนกัน ดังนั้นพอช่างใช้เกจวัดน้ำยาแอร์ r22วัดแรงดันของน้ำยาแอร์ในระบบ จึงเห็นว่ามีแรงดันของน้ำยาแอร์ต่ำกว่าปกติ และแจ้งเราว่าน้ำยาแอร์ขาดต้องเติมน้ำยาแอร์ r22 ซึ่งจริงๆน้ำยาแอร์อาจไม่ได้ขาด ดังนั้นก่อนเรียกช่างควรเช็คน้ำยาแอร์บ้านด้วยตัวเองเบื้องต้นก่อน


วิธีการเช็คน้ำยาแอร์ด้วยตนเอง


วิธีการตรวจสอบน้ำยาแอร์บ้าน R22 , R410A , R32 ด้วยตัวเองไม่ให้โดนหลอก ก่อนจะตามช่างมาดูทำได้ดังนี้ คือ

1. ตั้งอุณหภูมิแอร์ให้ต่ำหน่อยประมาณ 22 องศา และจับเวลาประมาณ 15 นาทีหลังจากที่เปิดเครื่อง เพื่อให้ตัวแอร์เดินเครื่องรันน้ำยาแอร์เต็มที่ก่อน ถึงจะดูที่ตัววัดแรงดันน้ำยาแอร์ว่าปกติหรือไม่ การวัดหลังเปิดแอร์แล้ว 15 นาที จะได้ค่าแรงดันของน้ำยาแอร์ที่ถูกต้อง ดังนั้นการดูค่าแรงดันไม่ใช่เปิดแอร์ปุ๊บแล้วดูที่ตัววัดเลยทันทีเพราะจะไม่ใช่ค่าที่ถูกต้อง
ค่าแรงดันตามมาตราฐานของน้ำยาแอร์บ้านที่ควรรู้

    ค่าแรงดันของน้ำยาแอร์บ้านที่วัดได้ในสภาวะปกติ คือ
    น้ำยาแอร์ R22 จะมีแรงดัน (PSI) อยู่ที่ 60-80 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว
    น้ำยาแอร์ R410A จะมีแรงดัน (PSI) อยู่ที่ 140-160 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว
    เกจวัดน้ำยาแอร์ r32จะมีแรงดัน (PSI) อยู่ที่ 160 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว
    หากวัดค่าแรงดันของน้ำยาแอร์ได้อยู่ในสภาวะปกติตามที่แจ้งนี้ ก็ไม่ต้องเติมน้ำยาแอร์เพิ่มอีกแล้ว

2. หลังจากเปิดเครื่อง 15 นาทีแล้วสังเกตคอยล์ร้อน ที่เราเรียกว่าคอยล์ร้อนนั้นเพราะจะมีลมร้อนออกมาแสดงว่าคอมเพรสเซอร์เดิน น้ำยาแอร์ยังมีเยอะแสดงว่าปกติ ต่อมาให้เราเปิดฝาด้านข้างคอยล์ร้อนตรวจดูวาล์ว โดยต้องใส่รองเท้าด้วยและพื้นควรแห้งหน่อยกันไฟรั่วไฟดูด เปิดดูวาล์วสองจุดคือ วาล์วเล็กต้องเย็นเหมือนเป็นน้ำเกาะ และวาล์วใหญ่ก็ต้องเย็น ต้องเย็นทั้งสองวาล์ว สองจุดนี้เอามือจับได้ ถ้าวาล์วใหญ่เย็นดีมากๆ แสดงว่าน้ำยาแอร์เยอะไม่ต้องเติมน้ำยาแอร์เลย

เวลาเรียกช่างมาล้างแอร์ก็สามารถบอกช่างได้เลยว่า ไม่ต้องเติมน้ำยาแอร์ ไม่ต้องเช็คน้ำยาแอร์แล้ว กันช่างหลอกปล่อยน้ำยาของเราทิ้งแล้วหลอกให้เติมเสียสตางค์ และนอกจากนี้การเช็ค น้ำยาแอร์รถยนต์ ก็ควรต้องศึกษาความรู้เบื้องต้นด้วย