ผู้เขียน หัวข้อ: ซ่อมบำรุงอาคาร: ขั้นตอน การตรวจ เช็คแอร์ บ้านง่าย ๆ  (อ่าน 147 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 510
    • ดูรายละเอียด
ขั้นตอนการเช็คแอรง่าย ๆ ที่ใคร ๆ สามารถทำได้ตัวเองที่บ้านในเบื้องต้น ว่าเข็คการทำงานของแอร์ว่าปกติ หรือมีอาการเสียอย่างไร หากว่าง ๆ ลองเปิดแอร์แล้วทำบ่อย ๆ อาการเสียบางอย่งาอาจแก้ไขได้ทัน แถมยังเป็นการเช็คได้ว่าน้ำยาแอร์มีพอใช้งานไหมอีกด้วย วิธีการสังเกตมีดังนี้

 
ขั้นตอนการเช็คน้ำยาแอร์

1.เปิดแอร์ไว้ที่ 20 องศา ค้างไว้ประมาณครึ่งชั่วโมง แนะนำให้ทำตอนกลางคืน จะได้ไม่โดนรบกวนจากความร้อนจากแดด
2.ดูที่ คอมเพรสเซอร์ นอกบ้าน เช็คว่าลมที่เป่าออกมานั้น ต้องร้อน และ อุ่นมาก ๆ แปลว่า ปกติ
3.สังเกตท่อทางทางเดินน้ำยาแอร์ ที่ต่อเข้าตัวคอมเพรสเซอร์ จะต้องมีน้ำเกาะ หรือ หยดน้ำเกาะทั้งสองท่อ
4.ตรวจสอบท่อน้ำทิ้งว่ามีน้ำไหลออกมาหรือไม่ แล้วไหลออกมามีปริมาณเท่าใด เพราะยิ่งมีน้ำทิ้งไหลมาก แปลว่าแอร์ทำงานได้ดี
5.ดูที่ตัวคอยล์เย็นในบ้าน เอามือสัมผัสลมที่ออกมา จะต้องมีความเย็นมาก เย็นกว่าลมจากตู้เย็น
6.สังเกตความแรงของลมที่เป่าออกมาในขณะทำงาน จะต้องมีความแรงลมพอดีกัน

 
นอกจากนี้ยังมีวิธีการตรวจเช็คอาการแอร์เบื้องตั้น ตามอาการเหล่านี้มาฝากกัน

1.อาการพัดลมทำงานมีเสียงดัง คอยล์ร้อนเสียงดัง

สาเหตุ
- พัดลมมีสิ่งแปลกปลอม หรือ กระทบกับสิ่งอื่น
- พัดลม หรือมอเตอรัดลดหลวม หรือชำรุด
- ใบพัดบิดเบี้ยว ไม่สมดุลย์
- แมกเนติกเสื่อม

วิธีการแก้ไข
- ตรวจสอบตำแหน่ง และช่องว่งาของพัดลม และหาสิ่งแปลกปลอม
- ตรวจและขันพัดลมให้แน่นกับเพลา
- ตรวจสอบการบิดเบี้ยวของใบพัด ถ้าชำรุดให้เปลี่ยนใหม่
- ทำการเปลี่ยนแมกเนติก

 
2.อาการแอร์มีกลิ่นอับชื้น

สาเหตุ
- ในห้องมีความชื้นสูง
- แอร์สกปรก
- เดินท่อน้ำทิ้งไปตรงกับท่อระบายน้ำ

วิธีการแก้ไข
- ตั้งโหมดลดความชื้นที่รีโมต
- ทำการล้างแอร์ด้วยปั๊มแรงดันสูง
- ทำการเปลี่ยนตำแหน่งใหม่

 
3.อาการตัวเครื่องสั่นและมีเสียงลมดังผิดปกติ

สาเหตุ
- ท่อน้ำยาด้านดูดและด้านส่งสัมผัสกัน
- น๊อต หรือ สกรู ยึดคอมเพรสเซอร์ ฝาครอบเครื่องหรือแคปหลวม
- ใบพัดลมบิดงอ หรือ หลวม
- พัดลมมอเตอร์ เคลื่อนออกจากตำแหน่งที่ตั้ง เนื่องจากจุดที่จับยึดหลวม

วิธีการแก้ไข
- ตัดท่อให้เกิดช่องว่างระหว่งท่อทางด้านดูด และท่อทางด้านส่ง
- ขันน๊อต หรือ สกรูให้แน่น
- เปลี่ยนพัดลม
- ตรวจตำแหน่งให้ถูดต้อง และขันน๊อตที่ล็อคให้แน่น

 
4.คอมเพรสเซอร์สตาร์ทไม่ออก หากปล่อยไว้นาน คอมเพรสเซอร์จะไหม้

สาเหตุ
ต่อวงจรไฟฟ้าไม่ถูกต้อง
- ไฟที่จ่ายไปยังเครื่องมีแรงเคลื่อนต่ำ หรือ แรงเคลื่อนไฟฟ้าตก
- แคปรัน เสียหายขัดข้อง
- มอเตอร์คอมเพรสเซอร์ไหม้
- กลไกภายในคอมเพรสเซอร์ขัดข้อง

วิธีการแก้ไข
- ตรวจเช็คและต่อวงจรไฟฟ้าไหม้
- ต้นหาสาเหตุ และแนวทางป้องกันแก้ไขให้ถูกต้อง
- ค้นหาสาเหตุและแก้ไขแล้วเปลี่ยนแคปรันใหม่
- เปลี่ยนคอมเพรสเซอร์

 
5.คอมเพรสเซอร์ไม่ทำงาน อาการแอร์ไม่เย็น

สาเหตุ
- สวิทซ์ควบคุมอุณหภูมิไม่ทำงาน
- สายไฟขาดหรือหลวม
- แคปสตาร์ทชำรุด
- แคปรันชำรุด
- รีเลย์ผิดปกติ
- โอเวอร์โหลดตัดการทำงานหรือชำรุด
- แรงเคลื่อนไฟฟ้าต่ำ หรือ แรงเคลื่อนไฟฟ้าตก

 
วิธีการแก้ไข
- ถ้าปรับสวิทซ์ควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ในตำแหน่งที่เย็นกว่าอุณหภูมิห้อง แต่เครื่องยังไม่ทำงานให้เปลี่ยนเทอร์โมสตัทใหม่
- ตรวจสอบสายไฟและขั้วต่อสายไฟฟ้าต่าง ๆ เช่น ที่สวิทซ์และที่ขั้วสายไฟของคอมเพรสเซอร์
- ตรวจเช็คแคปสตาร์ทถ้าชำรุดให้เปลี่ยนใหม่
- ตรวจเช็คแคปรัน ถ้าชำรุดให้เปลี่ยนใหม่
- ตรวจซ่อมแก้ไข หรือเปลี่ยนรีเลย์ใหม่
- ตรวจดูว่าความร้อนที่คอมเพรสเซอร์สูงเกินไป หรือ โอเวอร์โหลดผิดปกติหรือไม่
- ตรวจแรงเคลื่อนไฟฟ้าและทำการแก้ไข

 
6.คอมเพรสเซอร์ทำงาน อาการแอร์ไม่เย็น

สาเหตุ
- น้ำยาแอร์ขาด
- แอร์สกปรก
- คอมเพรสเซอร์ไม่มีกำลังอัด
- มีอาการตันของระบบน้ำยา
- การกระจายลมเย็นไม่เพียงพอ

 
วิธีการแก้ไข
- เติมน้ำยาเข้าระบบแรงดัน 70-80 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว
- ทำการล้างแอร์ทั้งคอยล์ร้อนและคอยล์เย็นโดยปั๊มน้ำแรงดันสูง
- ทำการเปลี่ยนคอมเพรสเซอร์
- ทำการเปลี่ยนแคปทิ้ง (ตัวฉีดน้ำยา), ไดเออร์ (ตัวกรองความชื้น)
- และแวคคั่มระบบเติมน้ำยาใหม่
- ปรับปรุงการจ่ายลมเย็น

 
7.อาการบานสวิงที่คอยล์เย็นไม่ทำงาน

สาเหตุ
- มอเตอร์สวิงเสีย
- ขาบานสวิงหัก
- แผงควบคุมเสีย

วิธีการแก้ไข
- ทำการเปลี่ยนมอเตอร์สวิง
- ทำการเปลี่ยนขาบานสวิง
- ทำการเปลี่ยน หรือส่งซ่อมที่ศูนย์บริการของผู้ผลิต




ซ่อมบำรุงอาคาร: ขั้นตอน การตรวจ เช็คแอร์ บ้านง่าย ๆ อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://snss.co.th/dt_post/technical-services/