ผู้เขียน หัวข้อ: รับออกแบบบ้าน: บ้านหันทิศตะวันตก จำกัดแสงด้วยบล็อคแก้ว หายใจได้ด้วยบล็อคช่องลม  (อ่าน 68 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 429
    • ดูรายละเอียด
ปัจจุบันมีนวัตกรรมใหม่ๆ ในการผลิตวัสดุก่อสร้างเกิดขึ้นทุกวัน ทำให้ดีไซน์ของบ้านมีทางเลือกมากขึ้น แต่บางครั้งบ้านที่เราเห็นว่าแปลกไม่เหมือนบ้านหลังอื่น ก็สร้างมาจากวัสดุที่เราคุ้ยเคยมานานนับสิบๆ ปี เพียงแต่นำมาตีความและใช้งานในแบบที่ต่างออกไป อย่างบ้านหลังนี้ก็มีเอกลักษณ์เฉพาะของเส้นสายที่น่าประทับใจและโดดเด่น แทนที่จะเทผนังเหมือนบ้านทั่วๆ ไป แต่สถาปนิกกลับเลือกการ “ผสมผสาน” วัสดุบล็อกแก้วที่มีความโปร่งแสงสลับกับบล็อคช่องลม ทำให้เหมือนบ้านกำลังใส่เสื้อที่แวววาวเป็นประกาย ในขณะที่ช่องลมเป็นเสมือนปอดให้รู้ว่าบ้านจะหายใจได้อย่างไร


บ้านผนังบล็อกแก้วและอิฐช่องลม

บ้านสร้างบนที่ดิน 4×15 ม. ข้อเสียของทำเลนี้คือ พื้นที่แคบ ถนนด้านหน้าเล็กและหันไปทางทิศตะวันตกที่รับแสงได้มาก สถาปนิกจึงวางแผนจะไม่ใส่ระเบียงด้านหน้า เพราะถนนกว้างน้อยกว่า 3 ม. และค่อนข้างร้อน โดยโจทย์ที่เจ้าของให้สถาปนิกคือ การสร้างบ้านที่เป็นส่วนตัวแยกจากภายนอก แต่ต้องมีที่โล่งภายใน ทีมงานจึงสร้างรั้วที่ค่อนข้างปิด ตัวบ้านบ้านสไตล์โมเดิร์นใช้อิฐแก้วแต่งแต้มด้วยอิฐช่องลม ช่วยให้บ้านมีความเป็นส่วนตัว แต่ยังใช้ประโยชน์จากแสงและลมจากธรรมชาติได้

จากประตูรั้วบ้าน เข้ามาภายในจะเว้นพื้นที่ว่างเปิดออกสู่ท้องฟ้าเล็กน้อยก่อนถึงตัวอาคาร ซึ่งจะลดความรู้สึกอึดอัดจากความใกล้ชิดติดขอบถนนได้ และยังเป็นพื้นที่กันชนพร้อมกับทำพื้นที่สีเขียวหน้าบ้านให้ดูสดชื่นไม่แข็งกระด้าง


เมื่อเข้าสู่ภายในจะเห็นช่องระบายอากาศที่ด้านหน้าอาคารสลับกับช่องรับแสงทั้งภายในและภายนอก รวมกับประตูหน้าบ้านที่เปิดออกได้กว้าง มีผลให้เกิดช่วยเพิ่มการระบายอากาศให้กับพื้นที่ทั้งหมด สร้างความเชื่อมโยงระหว่างพื้นที่ในร่มและกลางแจ้ง ระหว่างชีวิตส่วนตัวกับสิ่งรอบข้าง ส่วนของบล็อกช่วยจำกัดการรับแสง ให้บ้านยังคงสว่างแต่ไม่ร้อนแม้จะหันหน้ารับแดดทางทิศตะวันตก ความเรียบง่ายของสีและความเป็นส่วนตัวเกิดเป็นพื้นที่ใช้สอยที่เงียบ สงบ สบาย ให้ความรู้สึกของการหยุดพัก ท่ามกลางชีวิตที่วุ่นวายโดยไม่โดดเดี่ยวจนเกินไป

อีกหนึ่งจุดเด่นของบ้านคือ เจาะพื้นเพดานส่วนหน้าบ้านเชื่อมต่อระหว่างชั้นบนและชั้นล่างออกเป็นรูปโค้ง ที่นอกจากจะช่วยให้บ้านแปลกตา ดูโอ่โถง แล้วยังช่วยสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างชั้น เปิดให้แสงและลมเดินทางในอาคารได้ดีขึ้น สถาปนิกยังแทรกสอดของคู่สีที่ตัดกันระหว่างเพดานและผนังทำให้เกิดพื้นที่เปิดโล่งที่สะดุดตาน่าสนใจ


สำหรับฟังก์ชันของบ้านทั้ง 3 ชั้น จะแยกรองรับความต้องการใช้งานที่ยืดหยุ่นและแก้ปัญหาพื้นที่ โดยการจัดการวางแผนเพื่อให้ฟังก์ชั่นและประโยชน์ใช้สอยของบ้านเหมาะสมที่สุด ในชั้นล่างเป็นพื้นที่ใช้สอยส่วนกลาง ที่นี่สถาปนิกออกแบบบาร์เล็กๆ เพื่อแยกห้องนั่งเล่นและส่วนรับประทานอาหาร แทนที่จะใช้ฉากกั้น สมาชิกในครอบครัวสามารถเพลิดเพลินกับการสังสรรค์ยามเย็น ปาร์ตี้ในลานโล่ง ต้อนรับรับเพื่อน ญาติ หรือทำธุรกิจกับคู่ค้า โดยไม่รบกวนพื้นที่ส่วนตัวของครอบครัวที่อยู่ถัดขึ้นไปในชั้นบนๆ


พื้นที่ชั้นลอยเป็นที่ทำกิจกรรมสนุกๆ ของครอบครัว ออกแบบสไตล์มินิมอลผสมผสานกับโทนสีขาวและดำ ทำให้ทาวน์เฮาส์โดยรวมหรูหราและอยู่สบาย

กลไกทิศทางลมได้รับการออกแบบทั้งแนวนอนและแนวตั้งเพื่อเพิ่มการไหลเวียนของอากาศให้บ้านเย็นสบาย อากาศบริสุทธิ์จะอบอวลอยู่ในบ้านเสมอ ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นมากเมื่อเทียบกับบ้านหน้าแคบสูงทั่วไป สำหรับช่องรับแสงถูกจัดวางไว้ตรงกลางและส่วนท้ายของบ้าน เพื่อให้แสงกระจายไปอย่างทั่วถึง ส่วนครึ่งหลังของบ้านรับเข้าโดยช่องรับแสงด้านหลัง เป็นสกายไลท์กลางบ้านอยู่เหนือพื้นที่ครัว และยังมีหน้าที่สร้างทางระบายอากาศออกจากครัวไม่ทิ้งกลิ่นการทำอาหารไว้ในบ้าน ไม่มีกลิ่นอับเหมือนบ้านทั่วไป


ชั้นบนสุดเป็นพื้นที่ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวกที่สุด ซึ่งชั้นนี้จะจัดให้มีพื้นที่ซักล้างและอบแห้ง เงยหน้าขึ้นไปจะเห็นว่าเหนือศีรษะมีสกายไลท์ทรงกลมทาสีดำรอบกรอบมาพร้อมแผ่นกระจกช่วยขยายมุมมอง  เจ้าของอธิบายว่าพื้นที่นี้เหมาะสมที่สุดหากต้องการเพลิดเพลินไปกับกิจกรรมส่วนตัวที่ต้องการความสงบในช่วงกลางวัน หรือมานั่งดูดาวฉาบแสงจันทร์ในช่วงค่ำ โครงสร้างนี้เป็นความเชื่อมโยงที่สมบูรณ์แบบระหว่างแสง ลมธรรมชาติ และความเขียวขจี ทั้งหมดสร้างพื้นที่โดยรวมที่ซับซ้อน แต่ยังคงความสะดวกสบายและความสดชื่นให้กับบ้าน เปิด “การเชื่อมต่อ” ของพื้นที่อเนกประสงค์จะสมบูรณ์แบบ เพื่อให้เจ้าของบ้านสามารถมีช่วงเวลาแห่งการพักผ่อนอย่างแท้จริง

ห้องนอนที่มีผนังตรงกับช่วงของบล็อกแก้ว รู้สึกได้ถึงแสงที่นุ่มนวล ในขณะที่สบายใจได้ว่าภายในจะเต็มไปด้วยความเป็นส่วนตัว และไม่ถูกรบกวนด้วยเสียงยวดยานที่ผ่านไปมาหน้าบ้าน

ด้วยด้านหน้าอาคารที่หันไปทางทิศตะวันตก ผิวอาคารที่เต็มไปด้วยวัสดุโปร่งแสงจึงมีแสงระยิบระยับและโดดเด่นในยามเย็น ในตอนกลางคืน แสงจากระบบไฟอัจฉริยะส่องผ่านผนังกระจก ทำให้พื้นที่สว่างและชัดเจนยิ่งขึ้นเหมือนบ้านเป็นตะเกียงดวงใหญ่เปล่งประกายยิ่งกว่าบ้านไหนในซอย

หากสังเกตจะเห็นว่าสถาปนิกติดตั้งจังหวะของอิฐช่องลมและจำนวนในชั้นบนกับชั้นล่าง และด้านหน้ากับด้านหลังต่างกัน เพราะใช้หลักการของความแตกต่างของแรงดัน เพื่อสร้างการไหลเวียนของอากาศในพื้นที่ ดังนั้น อิฐช่องลมจึงถูกวางในตำแหน่งที่ต่ำ (ยิ่งตำแหน่งต่ำ แรงดันยิ่งมาก) ร่วมกับช่องแสงสองช่องระหว่างและด้านหลังบ้าน (ยิ่งตำแหน่งสูง แรงดันยิ่งน้อย) จะสร้างความแตกต่างของแรงดัน ส่งผลให้อากาศหมุนเวียนจากแรงดันสูงไปสู่แรงดันต่ำโดยอัตโนมัติ ดังนั้น ไม่ว่าข้างนอกจะมีลมแรงหรือไม่ บ้านก็เย็นสบายอยู่เสมอ

รับออกแบบบ้าน: บ้านหันทิศตะวันตก จำกัดแสงด้วยบล็อคแก้ว หายใจได้ด้วยบล็อคช่องลม อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://luxuryhomesdesigns.com/